หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข่าวรัฐธรรมนูญ

ไกรธ.ถกปรับหมวดศาล รธน.-องค์กรอิสระใหม่ โดยจับแยกหมวดออกจากกัน .
  เมื่อวันที่ 6 พ.ย.58 ที่รัฐสภา นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงความคืบหน้าการประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญว่า ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหมวดศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ให้แยกออกจากกัน จากเดิมที่ให้รวมกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจแบบองค์กรตุลาการ มีคำวินิจฉัยในพระปรมาภิไธยส่วนองค์กรอิสระนั้นให้มีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อ ทราบทุกปี พร้อมทั้งเผยแพร่รายงานให้ประชาชนทราบด้วย นอกจากนี้ ยังเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระในกรณีต่างๆ อาทิ ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น


วิเคราะห์ข่าว

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหมวดศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ให้แยกออกหมวดจากกัน เพราะตอนนี้หมวดศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้อยู่ในหมวดเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจแบบองค์กรตุลาการ มีคำวินิจฉัยในพระปรมาภิไธยส่วนองค์กรอิสระนั้นให้มีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบทุกปี สาเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแยกหมวดออกจากกันก็เพื่อให้เกิดความชัดเจน ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


นาย ทัตเทพ อ่าวลึกเหนือ เลขที่ 12 รปศ.582


เหตุการณ์ 14 ตุลา




เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคมเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการประท้วงคำสั่งลบชื่อนักศึกษารามคำแหง เก้าคน การประท้วงนี้ยังเสนอให้รัฐบาล ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในเวลาหกเดือน
ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีการปกครองภายใต้รัฐบาลทหารโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ ในสมัยของรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจรก็มีเหตุการณ์ที่ค่อย ๆ สั่งสมให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจรัฐบาล เช่น เมื่อนักการเมืองระดับสูงใช้ยุทโธปกรณ์ลาสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๖ และภาวะข้าวสาร ขาดแคลน ขณะที่บทบาททางการเมืองของนักศึกษาชัดเจนและเข้มแข็งขึ้น หลังจากที่ ประสบความสำเร็จ มาแล้วจาก การเป็นผู้นำสัปดาห์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๕
ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษาจัดให้มีการประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง ๑๓ คน มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคน
   เที่ยงตรงของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยและลานพระบรมรูปทรงม้า การเจรจาระหว่างนักศึกษากับฝ่ายรัฐบาลดำเนินไปจนถึง เวลาดึกของวันเดียวกัน
    การนองเลือดเริ่มต้นเวลาเช้ามืดของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อตำรวจคอมมานโดบุกเข้าตี นักศึกษาที่กำลังจะแยกย้ายกันกลับบ้านอยู่แล้ว ข่าวการทารุณของตำรวจคอมมานโดแพร่ไปทั่วกรุงเทพฯ
   นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนที่มีแต่ระเบิดขวด ท่อนไม้ และ ก้อนหิน ปะทะกับทหารตำรวจอาวุธ ครบมือ เหตุการณ์ลุกลามไปทั่วบริเวณหน้ากรมลุกลามไปทั่วบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ หน้าวัด ชนะสงคราม สะพานผ่านฟ้าฯ ถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก
   เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคมสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร หรือตามที่เรียกกันในขณะนั้นว่า “สามทรราช” เดินทางออกนอกประเทศไปในที่สุด


วิเคราะห์ความเห็น

จากเหตุการณ์ 14 ตุลานี้ ทำให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อบุคคลและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีข้อดีหลายอย่างเกิดขึ้นทำให้แสดงให้เห็นถึงความเสียสละที่จะเรียกร้องหาความยุติธรรม ทุกคนกล้าที่จะเรียกร้องหาความถูกต้องและความเป็นธรรม และหลังจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเผด็จการเป็นระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นอกจากนี้เหตุการณ์นี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่าบางครั้งการใช้ความรุนแรง การชุมนุมหรือการประท้วงต่างๆก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ดีเสมอไป


นาย ทัตเทพ อ่าวลึกเหนือ เลขที่12 รปศ.582

14 ตุลาคม วันประชาธิปไตย


วันประชาธิปไตย14 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันประชาธิปไตยของไทย วันนี้เรามีประวัติความเป็นมาวันประชาธิปไตยไทยมาฝาก

            แม้หลายคนจะทราบว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม แต่รู้หรือไม่ว่า วันที่ 14 ตุลาคม ของทุกปี ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย อันได้แก่ วันประชาธิปไตย นั่นเอง ส่วนวันดังกล่าวมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดนั้น วันนี้เรามี ประวัติวันประชาธิปไตย มาบอกกัน

            ก่อนจะกล่าวถึงวันประชาธิปไตย คงต้องเท้าความย้อนไปเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516  เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้น ได้รับการขนานนามว่า "วันมหาวิปโยค" เนื่องจากมี นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนับแสนคน เดินขบวนเรียกต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและคัดค้านอำนาจเผด็จการของรัฐบาลคณาธิปไตย สมัย พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพลถนอม กิตติขจร  และจอมพลประภาส จารุเสถียร

            โดยในครั้งนั้นได้มีการเคลื่อนไหวขับไล่กลุ่มเผด็จการทรราชออกจากอำนาจที่ยึดครองมาหลายสมัย รวมทั้งมีการเรียกร้องให้ปลดปล่อยนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง 13 คน ที่ถูกจับกุมฐานเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหากระทำผิดกฎหมาย ทำลายความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จากนั้นรัฐบาลได้ออกปราบปรามผู้ชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 โดยทหารและตำรวจได้ใช้อาวุธ รถถัง เฮลิคอปเตอร์ และแก๊สน้ำตา ยิงใส่ผู้ชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์ดังกล่าวได้ลุกลามใหญ่โต เมื่อประชาชนที่โกรธแค้นต่างร่วมมือกันต่อสู้ และบางส่วนได้เผาทำลายอาคารสถานที่และยานพาหนะของทางราชการ แต่ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงแก้ปัญหา เหตุการณ์จึสงบ โดยจอมพลถนอม และจอมพลประภาส ได้ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนเดินทางออกนอกประเทศ

            ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้บาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือของท้องสนามหลวง และนำอัฐิไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อฟื้นฟูระเบียบของบ้านเมือง เพื่อประสานสามัคคีให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมในการปกครองประเทศ จากนั้นจึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2517  นอกจากนี้ มติของรัฐสภายังเห็นชอบให้มีการนำเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บรรจุในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงเหตุการณ์สำคัญของชาติ ซึ่งถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเมืองภาคประชาชน ที่มีผลต่อการพัฒนาการเมืองจนมีระบบรัฐสภาต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

            จากข้อมูลดังกล่าวในข้างต้นจะเห็นว่า วันประชาธิปไตย ถือเป็นวันสำคัญทางการเมือง ที่นอกจากจะทำให้ประชาชน คนรุ่นหลัง ได้ทราบถึงเส้นทางสายการเมืองในอดีตของประเทศไทยว่า กว่าจะมีระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ปกครองบ้านเมืองอย่างสงบและเป็นแบบแผนดังเช่นทุกวันนี้ คนรุ่นก่อนได้เสียสละกันมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ทุกคนควรปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยการไม่นอนหลับทับสิทธิ์ และไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันนะคะ


วิเคาระห์

ได้มีการเคลื่อนไหวขับไล่กลุ่มเผด็จการทรราชออกจากอำนาจที่ยึดครองมาหลายสมัย รวมทั้งมีการเรียกร้องให้ปลดปล่อยนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง 13 คน ที่ถูกจับกุมฐานเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหากระทำผิดกฎหมาย ทำลายความมั่นคงของรัฐ เป็นกบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จากนั้นรัฐบาลได้ออกปราบปรามผู้ชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 โดยทหารและตำรวจได้ใช้อาวุธ รถถัง เฮลิคอปเตอร์ และแก๊สน้ำตา ยิงใส่ผู้ชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ลุกลามใหญ่โต เมื่อประชาชนที่โกรธแค้นต่างร่วมมือกันต่อสู้ และบางส่วนได้เผาทำลายอาคารสถานที่และยานพาหนะของทางราชการ แต่ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงแก้ปัญหา เหตุการณ์จึงสงบ โดยจอมพลถนอม และจอมพลประภาส ได้ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนเดินทางออกนอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้บาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือของท้องสนามหลวง และนำอัฐิไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรีในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อฟื้นฟูระเบียบของบ้านเมือง เพื่อประสานสามัคคีให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมในการปกครองประเทศ จากนั้นจึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2517ประเทศ


นาย วสุวัตร ประมูลศิลป์ รปศ 582เลขที่ 29

ข่าวรัฐธรรมนูญ


พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "นุรักษ์ มาประณีต" เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แทน "จรูญ อินทจาร" ที่ลาออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (18 ก.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามประกาศลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2556 แล้ว บัดนี้นายจรูญ อินทจาร ได้ขอลาออกจากการทำหน้าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญและได้พ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 209(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557 ได้มีมติเลือก นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 ประกอบมาตรา 24 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ 1.นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.-สำนักข่าวไทย


วิเคราะห์ข่าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แต่งตั้งให้ นาย นุรักษ์ มาประณีต เป็นประธานรัฐธรรมนูญแทน นายจรูญ อินทจาร ที่ลาออกไปตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


นาย วสุวัตร ประมูลศิลป์ รปศ 582เลขที่ 29

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กปปส.




สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วงและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 และแต่งตั้งตนเองเป็นเลขาธิการขบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์การ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนักเคลื่อนไหวนักศึกษา สหภาพแรงงานของรัฐ และกลุ่มนิยมทหาร การสนับสนุนของ กปปส. ส่วนใหญ่มาจากชาวกรุงเทพมหานครและชาวภาคใต้ที่มีฐานะร่ำรวย กปปส. มิได้ใช้สัญลักษณ์สีเสื้อแทนตัวเอง แต่ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงครั้งนี้ กปปส. ใช้งบประมาณวันละกว่า 10 ล้านบาท สื่อต่างประเทศรายงานว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนสถาบันกษัตริย์ และลักษณะของการชุมนุม "เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย"
สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วง ประกาศเจตนาของ กปปส. เพื่อทวงอำนาจอธิปไตยจากรัฐบาลมาคืนประชาชน ซึ่งจะดำเนินการปฏิรูปประเทศผ่านสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง สุเทพยังประกาศจะขจัดสิ่งที่ตนเรียกว่า "ระบอบทักษิณ" สุเทพกล่าวว่า สภาประชาชนทำหน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติ โดยจะแก้ไขกฎหมายและระเบียบ เช่นเดียวกับดำเนินแผนการปฏิรูปในประเทศ เขายังอธิบายว่าสภาประชาชนจะมีสมาชิก 400 คน โดย 300 คนเป็นผู้แทนจากอาชีพต่าง ๆ และอีก 100 คนที่เหลือ กปปส. จะเลือกจากนักวิชาการและราษฎรอาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ


วิเคราะห์
               จากข่าว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก่อตั้งกลุ่ม กปปส เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ได้รีบการสนับสนุนจากหลายองค์การ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนักเคลื่อนไหวนักศึกษา สหภาพแรงงานของรัฐ และกลุ่มนิยมทหาร การสนับสนุนของ กปปส.มิได้ใช้สัญลักษณ์สีเสื้อแทนตัวเอง แต่ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงครั้งนี้ กปปส. ใช้งบประมาณวันละกว่า 10 ล้านบาท เจตนาของ กปปส. เพื่อทวงอำนาจอธิปไตยจากรัฐบาลมาคืนประชาชน สุเทพยังประกาศจะขจัดสิ่งที่ตนเรียกว่า "ระบอบทักษิณ"


         อ้างอิง  https://th.wikipedia.org



        ผู้วิเคราะห์   นาย ระพีพัฒน์ วิชิตบุตร รปส 582 เลขที่ 26

ข่าวรัฐธรรมนูญ





นายนรชิต กล่าวถึงการพิจารณาในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า องค์ประกอบของ กกต. ให้สรรหามาจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในสาขาวิชาการต่างๆ ที่มีประโยชน์ในการบริหารและจัดการการเลือกตั้ง และด้านกฎหมาย มีทั้งหมด 7 คน จากผู้พิพากษา 2 คน และจากสาขาวิชาการต่้่างๆ 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง และดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมือง โดยให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้งนี้ กรธ. บัญญัติคำว่า "หน้าที่และอำนาจ" แทนคำว่า "อำนาจหน้าที่" เนื่องจากมีเจตนารมณ์ให้ถือเอาหน้าที่เป็นหลักก่อน แล้วจึงมีอำนาจ

ส่วนประเด็นการเลือกตั้งนั้น นายนรชิต กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับวิธีคำนวณผลการเลือกตั้ง พร้อมทั้งประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้สูตรการคำนวณที่สามารถสะท้อนคะแนนนิยมของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และอยู่บนพื้นฐานทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีความหมาย ซึ่งอยู่ในระหว่างการหาวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้ลงตัวที่ 150 คน ไม่เกิดปัญหาโอเวอร์แฮงก์ ได้จำนวน ส.ส. เกิน


วิเคราะห์
จากข่าว กล่าวถึงการพิจารณาในส่วนของคณะกรรมการเลือกตั้ง ว่าองค์ประกอบของ กกต.ให้สรรหามากจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในสาขาวิชาต่างๆ และที่มีประโยชน์ในการบริหารและจัดการการเลือกตั้ง และด้านกฏหมาย มีทั้งหมด 7 คน จากผู้พิพากษา2คน และจากสาขาวิชาต่างๆ 5คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7ปี มีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการการเลือกตั้ง และดูการดำเนินงานของพรรคการเมือง ส่วนประเด็นการเลือกตั้งนั้น พิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับวิธีคำนวณผลการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้สูตรการคำนวณที่สามารถสะท้อนคะแนนนิยมของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง


อ้างอิง  www.thairath.co.th


ผู้วิเคราะห์  นาย ระพีพัฒนื วิชิตบุตร รปศ 582 เลขที่ 26






วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พฤษภาทมิฬ





 พฤษภาทมิฬ 

เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอํานาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น  โดยให้เหตุผลหลักว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทําลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอํานาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
          หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสําเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มี.ค. พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จํานวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนําจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
          ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งนําไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตน และ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล จะไม่รับตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่กลับกลับคําพูดและรับตําแหน่งรัฐมนตรี
          เหตุการณ์นี้ เป็นที่มาของวลีที่ว่า " เสียสัตย์เพื่อชาติ "  การรับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นําไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) และนําไปสู่เหตุการณ์นองเลือด พฤษภาทมิฬ ในที่สุด

วิเคราะห์ 
จากเหตุการณ์นี้ผมคิดว่า ควรจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดกรองผู้เข้ารับตำแหน่งนายกเนื่องจากเป็นเรื่องที่คนทั้งในประเทศและนอกประเทศให้การจับตามอง ถ้าเกิดได้นายกที่ประชาชนและนานาชาติไม่ยอมรับสามารถเกิดปัญหาได้หลายอย่างดังเช่นเหตุการณ์นี้ได้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากประชาชนอย่างมากและนี้คือบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งให้กับประเทศไทยของเรา

อ้างอิงจาก  http://guru.sanook.com/

ผู้วิเคราะห์ นาย วิศรุต  สิทธิศักดิ์ เลขที่31 ห้อง รปศ.582


ข่าวการร่างรัฐธรรมนูญ





มีชัย" เผยกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเคาะจำนวนสส.ไม่เกิน 500 คน รอพรรคการเมือง-ครม.-คสช.ส่งความเห็น

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) เปิดเผยว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของฝ่ายบริหารนั้น ที่ประชุมกรธ.น่าจะพิจารณาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพราะขณะนี้ กรธ.กำลังพิจารณาโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ โดยล่าสุดการพิจารณาเรื่องที่มาส.ส.จบแล้ว ซึ่งตามหลักการ ส.ส.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนจำนวนส.ส.น่าจะมีไม่เกิน 500 คน เพราะเป็นหลักการที่คุ้นเคยกันมาอยู่แล้ว แต่ส.ส.แต่ละระบบจะมีจำนวนเท่าใดนั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้ง

ประธาน กรธ.ยังกล่าวถึงการปรับโครงสร้างองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นว่า จะคงเจตนารมณ์ที่ต้องกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอยู่เพราะประเทศไทยมาไกลเกินกว่าจะไปรวมแล้ว ส่วนการสร้างกลไกในการทำงานน่าจะไปเขียนกำหนดไว้ในกฎหมายลูก ซึ่งจะเป็นการทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการหามาตรการป้องกันการทุจริตในส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะต้องทำมีกลไกที่เข้มข้นในระดับชาติ เช่น ต้องใช้มาตรฐานใกล้เคียงกับระดับชาติที่คนทุจริตต้องถูกตัดสิทธิ

อย่างไรก็ดี เรื่องการเปิดรับฟังความคิดเห็น ทางกรธ.ยังเปิดกว้างตามปกติ แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อเสนอของพรรคการเมืองเข้ามาแต่อย่างใด ซึ่งหากพรรคการเมืองเสนอความคิดเห็นมาแล้ว กรธ.จะต้องนำมาพิจารณาและถ้าเห็นว่าประเด็นใดที่พรรคการเมืองยังไม่เข้าใจเราก็ต้องอธิบาย เช่นเดียวกับคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงแห่งชาติ(คสช.) ยังไม่ส่งความเห็นมาให้กรธ


วิเคราะห์
จากข่าวนี้ได้กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติโดยในข่าวนี้ได้บอกถึงจำนวนของส.สที่มาจากการเลือกตั้งว่าไม่น่าจะเกิน500คน ได้บอกเหตุผลไว้ว่าเป็นหลักการที่คุ้นเคยกันมาอยู่แล้ว แต่ส.สแต่ระรบบมีจำนวนเท่าไรนั้นต้องรอพิจารณาอีกครั้ง และในข่าวนี้ยังกล่าวถึงการปรับโครงสร้างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นว่าน่าจะใช้โครงสร้างแบบเดิมเนื่องจากใช้กันมายาวนานอยู่แล้วทั้นนี้ทั้งนั้นต้องฟังความคิดเห็นจากทางครม.และคสช.ก่อน

อ้างอิงจาก http://www.posttoday.com/


ผู้วิเคราะห์ นาย วิศรุต สิทธิศักดิ์ เลขที่ 31 ห้อง รปศ.582


วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงการ รู้ตน รู้คน รู้งาน


              
โครงการ รู้ตน รู้คน รู้งาน  ณ สวัสดีลากูน

วีดีโอนี้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศภายในค่ายและการทำกิจกรรมโดยใช้เวลาอยูร่วมกันภายในค่าย2วัน1คืน

แด่มิตรภาพเพื่อนร่วมเต็นต์


                                                         1.นาย ทัตเทพ อ่าวลึกเหนือ เลขที่ 12
                                                         2.นาย ระพีพัฒน์ วิชิตบุตร เลขที่ 26
                                                         3.นาย วสุวัตร ประมูลศิลป์ เลขที่ 29
                                                         4.นาย วิศรุต สิทธิศักดิ์ เลขที่ 31
รปศ.582